16 เม.ย.61
สำหรับการบริหารจัดการความเสี่ยง ทุกอย่างจะต้องนำมาคำนวณเพื่อกำหนดจำนวนยูนิตที่จะเข้าซื้อ หรือ Position size ที่เหมาะสมสำหรับเรา แม้โดยหลักการอาจจะฟังดูง่าย คือถ้าตลาดเป็นขาขึ้นก็ลงเงินเยอะ แต่ถ้าไม่ใช่ก็ลดจำนวนเงินลง แต่ที่จริงแล้วการเทรดที่ประสบความสำเร็จนั้นล้วนต้องวางแผน ซึ่งก็คือหาวิธีที่จะบอกเราว่าเมื่อไรควรซื้อ เมื่อไหร่ควรขาย หรือเมื่อไรควรถือไว้รอเก็งกำไร ดังนั้นเราควรจริงจังกับการวางแผน และเลิกคิดแบบไม่เผื่ออนาคต
การกำหนด Position size จะช่วยจำกัดความเสี่ยงของเราได้มาก และไม่ใช่เรื่องยากเกินไป โดยเราจะต้องทราบข้อมูลต่อไปนี้ ได้แก่
- จำนวนเงินรวม Accountable balance total
- ร้อยละความเสี่ยงที่รับได้ Account percentage to risk
- คู่เงินที่จะเทรด Currency pairs trading
- อัตราคู่เงินที่จะเทรด Currency pairs rates
- จุดตัดขาดทุน Stop loss positions (pips)
ตัวอย่าง:
เรามีเงิน 10,000 USD ในบัญชี และจะเทรดคู่เงิน EUR/USD โดยกำหนดตัดขาดทุน (Stop loss) ไว้ที่ 200 pips ต่อการเทรดแต่ละครั้ง และรับความเสี่ยงได้ไม่เกิน 1% ของจำนวนเงินที่ใช้เทรด
ขั้นที่ #1 จำนวนเงินที่อยู่ในความเสี่ยง คือ 10,000 USD x 1% = 100 USD
ขั้นที่ #2 จำนวนตัดขาดทุน (Stop loss) คือ 100 USD / 200 pips = 0.50 USD / pip
ขั้นที่ #3 จำนวนยูนิตที่จะเทรด คือ 0.50 USD / pip x [10,000* EURUSD units / ($1 / pip)] = 5,000 EURUSD units (โดย EURUSD 10,000 ยูนิต = 1 mini lot.)
อีกตัวอย่างหนึ่ง สำหรับกรณีที่เงินในบัญชีเทรดเป็นสกุลเดียวกับ base currency
ขั้นที่ #1 10,000 EUR x 1% = 100 EUR (จำนวนเงินเป็น EUR ที่อยู่ในความเสี่ยง)
ขั้นที่ #2 1.5000* USD / 1.0000 EUR) * 100 EUR = 150 USD (จำนวนเงินเป็น USD ที่อยู่ในความเสี่ยง โดยในตัวอย่างนี้ใช้อัตราแลกเปลี่ยน 1.5 EUR/USD)
ขั้นที่ #3 150 USD / 200 pips = 0.75 USD / pip (จำนวนตัดขาดทุน)
ขั้นที่ #4 0.75 USD / pip x [10,000* EURUSD units / ($1 / pip)] = 7,500 EURUSD (จำนวนยูนิตที่จะเทรด)
สนับสนุนข้อมูลโดย Fort Financial Service
เทรดกับ FortFS แล้วรับรีเบตจาก RebateForex4U คลิกที่นี่เพื่อสมัคร